เพื่อนร่วมงานกับความเป็น "มิตร" [6722-1u]

Release Date:

หลักธรรมเกี่ยวกับ “มิตร”- มิตรมี 2 ประเภท 1) กัลยาณมิตร = เพื่อนดี มี 4 ลักษณะ(1) มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ รักษาเราเมื่อประมาท คอยตักเตือน รักษาทรัพย์ให้ เมื่อเราประมาท เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นเดือดร้อน เป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้(2) มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้(3) มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้(4) มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน2) ปาปมิตร = เพื่อนชั่วที่จะนำความไม่ดีมาให้ มี 4 ลักษณะ (1) มิตรปอกลอก = เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสีย ให้นิดเดียว (2) มิตรดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้น แสดงความขัดข้อง (3) คนหัวประจบ = เราจะทำดี ก็คล้อยตาม เราจะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา (4) มิตรที่ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนไปเที่ยวตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนไปดูมหรสพ ชวนเล่นการพนัน Q1: เพื่อนร่วมงานที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก ไม่ฟังคนอื่นA: คนแบบนี้ไม่ใช่คนไม่ดี (ปาปมิตร) เพียงแต่เขาไม่มีทักษะในการทำงานกับผู้อื่น เราอาจต่างคนต่างอยู่กับเขาก็ได้ หรืออาจเป็นมิตรแนะประโยชน์ก็ได้1) ต้องไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง ไม่หงุดหงิด ไม่พอใจเขา2) แนะนำวิธีให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3) ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา ให้เขามีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง - ถ้าหากว่าเราสามารถนำธรรมะ เข้าไปสู่องค์กรได้ พฤติกรรม และทัศนคติของคนในองค์กรที่มีศีล สมาธิ ปัญญา จะมีจิตใจที่นุ่มนวลลง จะเป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร Q2: ลูกน้องลางานบ่อยA: หน้าที่ของเจ้านายอย่างหนึ่ง คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของลูกน้องลดลง เจ้านายก็ต้องปรับงานในสิ่งที่เขาทำได้ ให้ทำงานลดลงตามความสามารถ และให้เงินเดือนลดลงตามความสามารถนั้น, ให้พูดคุยทำความเข้าใจกับลูกน้องว่ามีปัญหาอื่นหรือไม่ Q3: ลูกน้องดื้อรั้นA: ลูกน้องหากไม่ทำตามหน้าที่ จะเป็นภัยต่อองค์กรทันที และจะมีการกระทบกระเทือนกันตามมาอย่างแน่นอน ก็ต้องให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับงานของลูกน้องไม่ให้กระทบกระเทือนกับคนอื่น ให้ลูกน้องคนนั้นออกจากงาน- คนที่มีจิตใจที่แข็งกระด้าง จะทำให้มีจิตใจนุ่มนวลอ่อนลงได้ ต้องมีการฝึกสมาธิ ฝึกจิตให้เป็นอารมณ์อันเดียว บางบริษัทจึงมีการให้พนักงานไปฝึกสมาธิปีละครั้ง จัดกิจกรรมฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม Q4: ลูกน้องมีปัญหาส่วนตัวมาก ส่งผลต่อการทำงานA: ดูก่อนว่าพื้นฐานจิตใจเขาเป็นคนดีหรือไม่ (เทวดา พรหมโลก สัตว์นรก) เกิดมามืดหรือสว่าง หากเราจะเป็นมิตรมีอุปการะ แนะประโยชน์ให้เขาไปทางดี ทำได้โดย- ทางกาย – ให้ทรัพย์ - ทางวาจา - พูดดีด้วย- ทางใจ – มีกรุณา (ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์) และอุเบกขา Q5: กรรมของผู้ที่ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่นA: การพูดที่มีเจตนายุยงให้เขาแตกกัน ถ้าทำมาก ๆ ก็จะไปตกนรก โทษเบา ก็จะทำให้เป็นคนที่แตกจากมิตร ไม่มีใครคบด้วย อย่าไปแช่งเขา เพราะโทษจะเกิดกับเราเอง อย่าไปนินทาตอบ ให้อดทน เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง เอาชนะคำนินทาลับหลัง ด้วยการพูดอ่อนโยน จะเป็นการเอาชนะได้อย่างยั่งยืน Q6: เด็กเส้นในที่ทำงานA: อย่ามีอคติกับเขา จะเป็นการไม่ปฏิบัติตามธรรม จะมีช่องให้มารเข้ามาได้ บาปกรรมก็จะให้ผลกับเรา ควรรักษาความดีของเราไว้ แนะนำให้เขาไปในทางดี องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

เพื่อนร่วมงานกับความเป็น "มิตร" [6722-1u]

Title
สิ้นกรรม [6524-1u]
Copyright
Release Date

flashback