7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]

Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า “อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว” หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชาA : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร? A : “ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์” มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มาก


5 นิทานพรรณนา

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

อัศจรรย์สี่ในธรรมวินัยนี้ มีอยู่ [6716-5p]

พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ ณ นครพาราณสี พระองค์ทรงแสวงหาโทษของพระองค์แต่มิได้เห็นผู้กล่าวถึงโทษของพระองค์ทั้งในพระราชวังและพระนคร จึงดำริว่าจักต้องแสวงหาในชนบท ทรงมอบให้อำมาตย์ ปลอมเป็นพระองค์เที่ยวจาริกไปยังหมู่บ้านต่างๆ พร้อมกับปุโรหิต ในขณะนั้นมีฎุมพีผู้มีสมบัติมาก เห็นพระราชาผู้มีผิวดังทองคำ จึงกลับไปเรือนจัดแจงโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ให้บริวารถือภาชนะใส่ภัตไปยังศาลาที่พระราชาพัก ในศาลานั้นมีดาบสนั่งอยู่ด้วย และยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้า นั่ง ณ ศาลานั้นอีกองค์หนึ่ง กุฎุมพีถวายน้ำชำระพระหัตถ์แก่พระราชา เตรียมถาดใส่ภัตพร้อมแกงและกับมีรสเลิศต่างๆ พลางน้อมเข้าไปถวาย พระราชาทรงรับภัตนั้นแล้ว พระราชทานแก่ปุโรหิต พราหมณ์รับถาดภัตนั้นแล้ว ถวายแด่ดาบส ส่วนดาบสรับถาดภัตนั้นแล้วนำไปสู่สำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้า ถวายทักษิโณทกแล้ว ใส่ภัตลงในบาตร เหตุเพราะดาบสนั้นคิดว่า เมื่อเรายังมีความถือมั่น ก็ควรถวายโภชนะแก่ท่านผู้ไม่มีความถือมั่น#ภิกขาปรัมปรชาดก #มุณิกชาดก #พาโลวาทชาดก #กิงสุโกปมชาดก Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.


6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

จุดที่สมาธิเปลี่ยนเป็นปัญญาด้วยองค์ 5 [6716-6t]

ข้อที่ #28_ปัญจังคิกสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิด้วยองค์ 5 ประการ คือ การไล่มาตามลำดับของการได้มาซึ่งฌานทั้ง 4 และปัจจเวกขณนิมิต จะได้ทราบอุปมาอุปไมยของการได้มาซึ่งฌานนั้น ๆ การเห็นอะไรจึงจะเลื่อนขึ้นในฌานที่สูงขึ้นไปละเอียดลงไปได้ ก็ต้องขจัดความหยาบของฌานที่ได้อยู่แล้วจึงจะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อได้ฌานทั้ง 4 บวกกับปัจจเวกขณนิมิต คือ ญาณในการรู้ว่าเรามีเราละอะไรได้ จะทำให้ละเอียดขึ้นได้อย่างไร และการเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในฌานต่าง ๆ ได้ชัดเจน จิตใจของคนเราถ้ามีสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์ในการกำจัดกิเลสได้ วิชชา 6 จะเกิดขึ้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ นี่คือจุดที่สมาธิจะเปลี่ยนเป็นปัญญา ตลอดกระบวนการต้องมีสติอยู่แล้วจึงจะสามารถรู้เห็นตรงนี้ได้ และปัจจเวกขณนิมิตมีได้ในทุกระดับฌาน เป็นตัวที่จะทำให้ฌานเลื่อนขึ้นได้เร็ว ข้อที่ #29_จังกมสูตร จังกม แปลว่า การเดิน ทำให้เกิดอานิสงส์ คือ 1) อดทนต่อการเดินทางไกล 2) อดทนต่อการทำความเพียร นี่คืออดทนต่อสิ่งที่อดทนได้ยาก รู้อยู่ว่าทุกข์แต่อยู่กับมันได้ 3) อาหารย่อย


4 คลังพระสูตร

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

ธรรมในธรรม-อลคัททูปมสูตร [6716-4s]

อลคัททูปมสูตร พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ในครั้นนั้นอริฏฐภิกษุมีทิฏฐิชั่วเกิดขึ้นด้วยการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคว่า ได้รู้ทั่วถึงธรรม และธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายนั้นไม่สามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ซึ่งเหล่าภิกษุอื่นได้ไปหาอริฏฐภิกษุด้วยความปรารถนาให้ละทิฏฐิชั่ว แต่ก็ไม่สำเร็จ อริฏฐภิกษุยังคงมีความเข้าใจผิดในธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ เหล่าภิกษุอื่นได้กราบทูลความนี้ต่อพระผู้มีพระภาค ทรงได้รับสั่งเรียกอริฏฐภิกษุให้มาเข้าเฝ้า และได้ตรัสถามเนื้อความการกล่าวตู่ธรรมของพระผู้มีพระภาคนี้จากอริฏฐภิกษุ ซึ่งยอมรับว่าเป็นความจริง จึงได้ทรงอธิบายว่าการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยทิฏฐิที่ถือไว้ผิด ชื่อว่าทำลายตนเอง ชื่อว่าประสบสิ่งที่มิใช่บุญ ซึ่งจะเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน และได้รับสั่งเรียกเหล่าภิกษุเพื่ออธิบายว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่อริฏฐภิกษุจะเสพกามโดยปราศจากกาม ปราศจากกามสัญญา และปราศจากกามวิตก และได้ทรงแสดงว่าการเรียนธรรมนั้นให้พิจารณาไตร่ต


3 ใต้ร่มโพธิบท

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

หิริ โอตตัปปะ : ธรรมคุ้มครองโลก [6717-3d]

“โลกบาล” เป็นหลักคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือหิริและโอตตัปปะ “หิริ” แปลว่าความละอายต่อบาป และ “โอตตัปปะ” แปลว่าความกลัวต่อบาปบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงถึงพระนิพพานได้ในที่สุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.


2 จิตตวิเวก

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

อย่าเป็นผู้ร้อนใจในภายหลัง [6717-2m]

ตั้งจิตไว้ตรงจุดเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเรียนรู้จากประสบการณ์ เจริญพุทธานุสติ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลสซึ่งมีอยู่รอบทิศทาง ทำความเพียรอย่างเร่งด่วนจะเกิดกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ เดินตามทางมรรคแปด จะไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลัง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.


1 สมการชีวิต

ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana

ชนะกิเลสด้วย "ปัญญาวุธ" [6717-1u]

ช่วงไต่ตามทาง: ภรรยาพาลูกหนีออกจากบ้าน- ท่านผู้ฟังรายนี้เจอเหตุการณ์ภรรยาพาลูกหนีมา กทม. โดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดคำถามข้องใจและความเป็นห่วงมาก จิตใจไม่เป็นสุข แต่เมื่อได้ฟังพระสูตร ก็รู้สึกเย็นขึ้น จิตใจสงบลง ระงับความคิดฟุ้งซ่านลงไปได้บ้าง- เมื่อจิตใจเบา นุ่มนวล เย็นอยู่ในภายใน ก็จะสามารถหาวิธีการอื่นที่เหมาะสม นุ่มนวล ไม่เนื่องด้วยอาชญาศาสตรา เป็นไปด้วยคุณธรรม คือ ความสามัคคี เมตตา ให้อภัย หาทางออกที่เป็นกุศลธรรม ชนะทั้งสองฝ่าย ทั้งตัวเราก็ได้ประโยชน์ คือ มีกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตใจ อีกฝ่ายก็ได้รับความต้องการอย่างถูกต้อง มีกุศลธรรมเกิดขึ้น ด้วยการมีธรรมะเข้าไปแทรกเอาไว้- สำคัญ คือ “ปัญญา” เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นคุณมี “เครื่องมือ” ที่จะใช้งานเพื่อแก้ปัญหานั้นหรือไม่- “อาวุธ” ที่จะนำไปใช้เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มันเร่าร้อน กดดัน บีบคั้นในทุก ๆ ด้าน ก็คือ “ปัญญา” พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “ปัญญาวุธ”- กรณีผู้ฟังท่านนี้ ใช้ธรรมะที่ได้ฟังมาปรับให้เกิดอาวุธ คือ ปัญญาในจิตใจของตน จัดการกับสิ่งที่เป็นอกุศลในใจให้มันออกไป (ความคิดฟุ้งซ่าน ตำหนิติเตียนผ