มรรค 8 กับการอยู่ครองเรือน [6649-1u]

Release Date:

นักกอล์ฟคนหนึ่ง เป็นตัวแทนขององค์กรไปแข่งขันกอล์ฟ เดิมในช่วงฝึกซ้อมจะเกิดภาวะเครียดมาก เหนื่อยมาก เนื่องจากมีความเพ่ง เกร็ง มีความจดจ่อจนเกินไป กลัวว่าจะทำได้ไม่ดี จึงพยายามบังคับ บีบคั้น ที่จะต้องทำให้ได้ ต่อมา มีการนั่งสมาธิ 2 ชั่วโมง ตอนเช้า ช่วงฝึกซ้อม ก็จะตีกอล์ฟแบบเงียบ ๆ ไม่พูดคุยกับคนมาก บางครั้งก็ใส่หูฟัง ฟังเทศน์ฟังธรรมไปด้วย โดยตีกอล์ฟแบบไม่เพ่ง ไม่บังคับ บีบคั้น ตนเองจนเกินไป เป็นการกำหนดรู้เฉย ๆ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติ มีสัมปชัญญะในการตีกอล์ฟ ก็พบว่าตนเองมีการควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้น เมื่อมีการควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ทั้งในขั้นตอนการฝึกซ้อม ในเกมส์การแข่งขัน และต่อทีม ทำให้ผลการแข่งขันออกมาดี ได้รับชัยชนะ ซึ่งการชนะคนอื่นไม่สำคัญเท่ากับชนะใจของตัวเองที่มีวินัยฝึกซ้อม และสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ สติ และสมาธิ สามารถนำมาใส่ในการเล่นกีฬาได้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะอิริยาบถนั่ง หรือเดินจงกรมการดำเนินชีวิตของฆราวาส มีการงานต้องทำมาก มีความวุ่นวายในการดำเนินชีวิต ใน 1 ปี มี 52 สัปดาห์ เคสแรก ไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม 1 สัปดาห์ ทำได้ดีมาก เห็นความสงบในใจ 2 สัปดาห์ไปเที่ยวพักผ่อน มีจิตใจสงบเย็นสบาย แต่ 49 สัปดาห์ที่เหลือ เป็นทุกข์เรื่องงาน ด่าว่าผู้อื่น คิดอาฆาต มีความกังวลหลายเรื่อง จิตใจไม่เย็นสบาย เคสที่สอง ไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม 1 สัปดาห์ ทำไม่ค่อยได้ จิตใจวุ่นวายไม่สงบ 2 สัปดาห์ไปเที่ยวพักผ่อน มีจิตใจสงบเย็นสบาย และ 49 สัปดาห์ที่เหลือ มีความสุขกับการทำงาน มีจิตใจที่เย็นสบาย เคสที่สองย่อมดีกว่าเคสแรก เพราะมีความสุขมากกว่า มีจิตใจที่เย็นสบายมากกว่าการที่คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนจะหลีกออกจากการครองเรือนนั้นทำได้ยาก พระพุทธเจ้าจึงให้ธรรมะไว้สำหรับการครองเรือนให้มีความราบรื่น มีความผาสุกในการครองเรือน เมื่อใดที่รู้สึกว่าเกิดทางตัน ความมืด ติดขัด หาทางออกไม่เจอ ไม่รู้จะไปทางไหน ต้องใช้แสงสว่าง ใช้ดวงตา หาทางออก นั่นคือ ปัญญา มีตัณหาอยู่ตรงไหน ความทุกข์มาทับถมเราทันที ถ้าเราไม่มีตัณหาสิ่งนั้นจะไม่มาเป็นทุกข์กับเรา สำหรับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธเจ้าไม่ให้ยึดถือ แต่ให้เอาเป็นที่พึ่ง คือ สรณะ ซึ่งไม่เหมือนการยึดถือ คือ อุปาทาน อุปาทานเป็นเหตุแห่งทุกข์ แต่การเอาเป็นที่พึ่ง เป็นเหตุแห่งมรรค (ทางพ้นทุกข์) ทุกข์กับมรรค เหมือนกันตรงที่ไม่เที่ยงเหมือนกัน แต่หน้าที่คนละอย่างกัน ผลคนละอย่างกัน เมื่อเกิดความทุกข์ เจอทางตันแล้ว ให้หาให้เจอว่าตัณหามันอยู่ตรงไหน เราก็ต้องเอาปัญญาฉายเข้าไปให้เห็น ซึ่งปัญญาจะอยู่ในมรรค 8 มรรค 8 สามารถทำได้ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอเวลาถ้าทำได้ นั่นคือแสงสว่าง นั่นคือปัญญา นั่นคือดวงตา นั่นคือความรู้ เมื่อไรที่รู้สึกตัน หาทางออกไม่เจอให้กลับมาที่ทางนี้ “ทางของมรรค 8” ให้มีศีล มีการฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เป็นประจำ พูดจากันให้ดี ๆ มีการจ่ายทรัพย์อย่างถูกต้อง ทำหน้าที่ในทิศทั้งหกอย่างดี การภาวนาก็จะอยู่ตรงนั้น ทำบ้านของเรา ทำกายของเรา ทำจิตของเรา ให้เป็นสถานที่ในการภาวนาปฏิบัติธรรม ด้วยการปฏิบัติเรื่องศีล เรื่องการใช้จ่ายทรัพย์ เรื่องทิศทั้งหก เรื่องข้อปฏิบัติในสัมมาอาชีวะต่าง ๆ นั่นคือ การปฏิบัติธรรมแล้ว ในช่วง 49 สัปดาห์ ถ้าเราทำได้อย่างนี้ทั้งหมด ก็จะเยี่ยมมาก ดีมาก ในสัปดาห์ที่เหลือเราจะทำอย่างอื่นเพิ่มเติมเข้าไปก็สามารถทำได้ ความอยากจะลดลงไปโดยอัตโนมัติ ในความที่ว่าเราทำได้ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ความพอใจในจิตใจมันจะเต็มเปี่ยม เต็มอิ่มขึ้นมาทันที เป็นทางออกในการแก้ปัญหา ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องตามกระบวนการนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

มรรค 8 กับการอยู่ครองเรือน [6649-1u]

Title
มรรค 8 กับการอยู่ครองเรือน [6649-1u]
Copyright
Release Date

flashback