เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 1) [6644-3d]

Release Date:

“กรรม” คือ การกระทำที่เกิดจากเจตนาของจิตที่ถูกกระตุ้นผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วปรุงแต่งออกไป ทาง 3 ช่องทาง คือ 1. ทางกาย เป็น กายกรรม 2. ทางวาจา เป็น วจีกรรม 3. ทางใจ เป็น มโนกรรมทำความเข้าใจเรื่องของ “กรรม” ผ่านพุทธพจน์ที่ว่า..“เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” หมายถึง เมื่อมีเหตุแล้ว ย่อมมีผล“เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์” คำว่า “เผ่าพันธ์” หมายถึง ผลของการกระทำนั้น“เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้” คำว่า “ที่พึ่งอาศัย” หมายถึง ลักษณะที่สะสมอยู่ในจิต หรือ “อาสวะ”“เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม” คือ กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม“เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น” คือ ได้รับผลของการกระทำนั้น“เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล” ผลของการพิจารณา คือ เกิดปัญญา และ มีอุเบกขา กรรม 4 อย่าง1.      กรรมดำ มีวิบากดำ - กรรมชั่ว การปรุงแต่งไปในทางเบียดเบียน ผลคือ เข้าถึงความเป็นสัตว์นรก2.      กรรมขาว มีวิบากขาว - กรรมดี ปรุงแต่งไปในทางไม่เบียดเบียน ผลคือ เข้าถึงสวรรค์ 3.      กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว - ปรุงแต่งไปในทางเบียดเบียนบ้างไม่เบียดเบียนบ้าง เสวยเวทนาสุขและทุกข์เจือปน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางพวก4.      กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8การทำที่สุดแห่งทุกข์ปรากฏขึ้นได้ เพราะการกระทำกรรมเรากำหนดได้จากการกระทำของเรา อยู่ที่ว่าจะตั้งเจตนาของจิตให้ปรุงแต่งไปในทางไหน ไปในทางสิ้นกรรม คือ ไม่มี ราคะ โทสะ และโมหะประกอบอยู่ในกรรม กรรมจึงอยู่ตรงที่เราเลือก เราจะอยู่เหนือกรรมได้ก็เพราะการกระทำของเราตรงนี้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 1) [6644-3d]

Title
เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 1) [6644-3d]
Copyright
Release Date

flashback