เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 2)-กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ [6645-3d]

Release Date:

กรรม (กัมมะ) คือ เจตนาของจิตที่เมื่อมีผัสสะมากระทบแล้วเกิดการปรุงแต่งออกไป ทางกาย (กายกรรม) วาจา (วจีกรรม) และใจ (มโนกรรม) เป็นอกุศลกรรมบ้าง หรือกุศลกรรมบ้าง หรือเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม (อริยมรรคมีองค์ 8)กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ - ทำความเข้าใจกรรมผ่าน “นิพเพธิกสูตร”·      เรากล่าวซึ่ง “เจตนา ว่าเป็นกรรม” เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ หมายถึง เจตนาที่อยู่ในจิตที่ประกอบไปด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ (กิเลส) จากมากไปจนถึงเบาบาง (อกุศล-กุศล) หรือจนไม่เหลือ จึงพ้นจากกรรม คือ “สิ้นกิเลส สิ้นกรรม” ด้วย อริยมรรคมีองค์ 8·      เหตุเกิดแห่งกรรม คือ ผัสสะ (อาศัยผัสสะเป็นแดนเกิด)·      ความมีประมาณต่าง ๆ แห่งกรรม คือ กรรมที่ทำให้ไปเกิดในอบาย, มนุษยโลก, เทวโลก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 และกุศลกรรมบถ 10·      วิบาก คือ ผลแห่งกรรม มีระยะเวลาการให้ผล คือในปัจจุบันทันควัน / ในเวลาต่อมา / ในเวลาต่อ ๆ มา·      ความดับไม่เหลือแห่งกรรม คือ ความดับแห่งผัสสะ (เมื่อมีผัสสะกระทบแล้วไม่เข้าถึงจิต)·      ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8การเข้าถึงกระบวนการสิ้นกรรม คือ ให้เราปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จนครบจนเต็มรอบ ผลแห่งความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จะทำให้เราพ้นจากกรรมได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 2)-กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ [6645-3d]

Title
เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 2)-กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ [6645-3d]
Copyright
Release Date

flashback